เมนู

[19] กุปปธรรมบุคคล บุคคลผู้มีธรรมอันกำเริบ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือ
สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้น มิใช่ผู้ได้โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดย
ไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือจะออกจากสมาบัติใด ในที่ใด กำหนดเวลา
เท่าใด ได้ตามปรารถนา ข้อนี้ก็เป็นฐานะอยู่แล ที่สมาบัติเหล่านั้นจะพึงกำเริบ
ได้ เพราะอาศัยความประมาทของบุคคลนั้น บุคคลนี้เรียกว่า กุปปธรรม-
บุคคล บุคคลผู้มีธรรมอันกำเริบ.


อรรถกถากุปปธรรมบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง "กุปปธรรมบุคคล" เป็นต้น. สมาบัติธรรม
อันบุคคลใด บรรลุแล้ว ย่อมกำเริบ ย่อมพินาศ เพราะเหตุนั้นบุคคลนั้นจึง
ชื่อว่า "กุปฺปธมฺโม" แปลว่า ผู้มีธรรมอันกำเริบ. บทว่า "รูปสหคตานํ"
อธิบายว่า สมาบัติที่สหรคตด้วยรูปนั้น กล่าวคือ ที่มีรูปเป็นนิมิต คือ เป็น
ไปพร้อมกับรูปนั้น หมายความว่า ไม่ยกเว้น รูปาวจรฌานทั้ง 4 ที่มีรูปเป็น
อารมณ์. บทว่า "อรูปสหคตานํ" อธิบายว่า สิ่งอื่นเว้นจากรูปไม่ชื่อว่า
รูป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อรูป สมาบัติที่สหรคตด้วยอรูป คือที่เป็นไปพร้อม
กับอรูปนั้น ไม่ยกเว้นอรูปาวจรฌานทั้ง 4 ที่มีอรูปเป็นอารมณ์. คำว่า
"น นิกามลาภี" ความว่า ชื่อว่า มิใช่เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา เพราะไม่
ได้ด้วยอาการที่ปรารถนา โดยความเป็นผู้ไม่ชำนาญในการประพฤติมาแล้วโดย
อาการ 5 อย่าง. อธิบายว่า ผู้ไม่ชำนาญเข้าสมาบัติ. คำว่า "น อกิจฺฉลาภี"
ได้แก่ ได้โดยลำบาก คือ ได้โดยยาก อธิบายว่า ผู้ใดข่มกิเลสทั้งหลายไว้ด้วย
อาคม บรรลุอุปจาระ บรรลุอัปปนา ได้อยู่ซึ่งจิตตมัญชุสา (หีบ คือ จิต

คงหมายถึงการสั่งสมสุขวิหารธรรม) ลำบากด้วยสัมปโยคะ คือ ความเพียรอัน
เป็นสสังขารอันยากลำบาก ย่อมไม่อาจเพื่อบรรลุสัมปทานั้น บุคคลนี้ชื่อว่า
มิใช่เป็นผู้ได้โดยลำบาก. คำว่า "น อกสิรลาภี" ได้แก่ เป็นผู้ได้ไม่
บริบูรณ์ อธิบายว่า เข้าสมาบัติแล้วไม่อาจเพื่อจะแผ่ไปตลอดกาลนานได้ คือ
ให้เป็นไปได้เพียงหนึ่งวาระจิต หรือสองวาระจิต แล้วก็ออกโดยเร็วพลันนั่น
เทียว. บทว่า "ยตฺถิจฺฉกํ" ได้แก่ ความปรารถนาเพื่อจะเข้าสมาบัติใน
โอกาสใด. บทว่า "ยทิจฺฉกํ" ความว่า ย่อมปรารถนาเพื่อจะนั่งเข้าสมาบัติ
ใด ๆ คือ ฌานมีกสิณเป็นอารมณ์ หรือฌานมีอานาปานะเป็นอารมณ์ หรือ
ฌานมีอสุภะเป็นอารมณ์. บทว่า "ยาวติจฺฉกํ" ความว่า ย่อมปรารถนากาล
มีประมาณเท่าใด โดยการกำหนดเวลายาวนาน.
ข้อนี้ มีคำอธิบายไว้ว่า ดังนี้
พระโยคี ย่อมปรารถนาจะเข้าบ้าง ออกบ้างซึ่งสมาบัติใด ๆ ในที่ใด ๆ
ตลอดกาลนานมีประมาณเท่าใด ย่อมไม่อาจเพื่อจะเข้าบ้าง ออกบ้างซึ่งสมาบัติ
นั้น ๆ ในที่นั้น ๆ ตลอดกาลนานมีประมาณเท่านั้น คือ แลดูพระจันทร์ หรือ
พระอาทิตย์แล้วกำหนดว่า "เมื่อพระจันทร์ หรือพระอาทิตย์นี้ไปสู่ที่มีประมาณ
เท่านี้แล้ว ข้าพเจ้าจะออกจากสมาบัติ" แล้วก็เข้าฌาน ย่อมไม่อาจเพื่อจะออก
ตามที่กำหนดไว้ ย่อมออกในระหว่างเทียว เพราะตนเป็นผู้ไม่ชำนาญใน
สมาบัติ.
บทว่า "ปมาทมาคมฺม" ได้แก่ อาศัยความประมาท. คำว่า "อยํ
วุจฺจติ"
ได้แก่ บุคคล 3 จำพวก คือ ปุถุชนผู้ได้สมาบัติ 8 พระโสดาบัน
พระสกทาคามี บุคคลเหล่านี้ท่านเรียกว่า "กุปฺปธมฺโม" แปลว่า ผู้มีธรรม
อันกำเริบ. ก็คำว่า "กุปฺปธมฺโม" นี้เป็นชื่อของบุคคล 3 จำพวกนั้น. ก็

ธรรมทั้งหลาย อันเป็นข้าศึกต่อสมาธิ และวิปัสสนาของท่านเหล่านั้น ท่านข่ม
ไว้ไม่ดี ชำระล้างไว้ไม่ดี เพราะฉะนั้นสมาบัติของท่านเหล่านั้นจึงพินาศไป
เสื่อมไป. อนึ่ง สมาบัตินั้น พินาศไป เสื่อมไป เพราะศีลขาด หรือเพราะ
การไม่ก้าวล่วงอาบัติเท่านั้นก็หาไม่. ก็นาคริกโปกขธรรมนี้ ย่อมพินาศไป
เพราะกรณียกิจ หรือเพราะเหตุสักว่าการแตกแห่งวัตร มีประมาณเล็กน้อย.
ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้ เป็นอุทาหรณ์.
ได้ยินว่า พระเถระรูปหนึ่งใช้สมาบัติ คือ ใช้สถานที่แห่งหนึ่งเป็นที่
สมาบัติ เมื่อท่านไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต พวกเด็กเล่นอยู่ที่บริเวณแล้วก็พากัน
หลีกไป พระเถระมาแล้วคิดว่า "พวกเด็กคงกวาดบริเวณ" ท่านจึงไม่กวาด
เข้าไปสู่วิหารด้วยคิดว่า "เราจักเข้าสมาบัติ" ท่านไม่อาจเพื่อจะเข้าได้ จึงรำพึง
ถึงศีลว่า "อะไรหนอเป็นเครื่องกั้น" ไม่เห็นการก้าวล่วง แม้มีประมาณเล็กน้อย
จึงตรวจดูว่า "วัตตเภทการแตกแห่งวัตรของเรามีอยู่หรือ ทราบว่าไม่ได้กวาด
บริเวณ จึงกวาดแล้ว ก็เข้าไปนั่งเข้าสมาบัติ.

จบอรรถกถากุปปธรรมบุคคล
[20]

อถุปปธรรมบุคคล

บุคคลผู้มีธรรมอันไม่กำเริบ เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌานหรือ
สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้น เป็นผู้ได้ตามต้องการ เป็นผู้ได้ไม่ยาก
เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด ในที่ใด กำหนด
เวลาเท่าใด ได้ตามปรารถนา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะไม่เป็นโอกาสที่สมาบัติเหล่า
นั้นจะพึงกำเริบ เพราะอาศัยควานประมาทของบุคคลนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้